การวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทยงานวาดเส้น ลายไทย และจิตกรรมไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทยที่มีความเด่นชัด ทางศิลปะสืบทอดมายาวนานอย่างมีที่มาของการสร้างสรรค์ ซึ่งเกิดจากสังเกตความเป็นไปต่าง ๆ ทางธรรมชาติ แล้วถ่ายทอดเป็นงานวาดเส้นที่ ลงตัว สวยงาม นำมาใช้ตกแต่งทั้งงาน สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมและงานประดับในพิธีการต่าง ๆ ซึ่งโดยความรู้สึก ลายไทย จะเป็นลวดลายที่เป็นมงคล เป็นของสูง เพราะส่วนใหญ่จะเห็น ประดับ ตกแต่งอยู่ในวัด และพระราชวัง ซึ่งเป็น สิ่งที่ชาวไทยให้ความเคารพ ศรัทธา และเป็นที่ยกย่องว่าสวยงาม และมีคุณค่า
การได้นำมาศึกษา และ ฝึกปฏิบัติวาดเส้นนับเป็นสิ่งที่ดี นอกจากนำมาประยุกต์ใช้งาน เกิดผลงานทางด้านการออกแบบสร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ แล้วยังเป็นการดำรงคุณค่าทางศิลป วัฒนธรรมของไทยให้ปรากฏแก่ผู้พบเห็นทั้งชาวไทยด้วยกัน และชาวต่างชาติในการศึกษาการวาดเส้นในงานเอกลักษณ์ไทย จะแยกเป็นสองรูปแบบใหญ่ ๆ คือ ลายไทย และจิตรกรรมไทย
ลายไทยในการศึกษา และฝึกวาดเส้น จะแยกออกเป็นส่วนๆ เสียก่อน ซึ่งแต่ละส่วนหรือแต่ละลายจะมีโครงสร้างต่างกัน แล้วจึงนำมาต่อช่อลายภาพหลัง ลายที่เป็นหลักสำคัญ มีดังต่อไปนี้
1. ลายกนก
ภาพที่ 1 ภาพลายกนก (1)
(แสดงภาพลายกนกหลายรูปแบบ บางครั้งเรียกภาพลายกนกนี้ว่า ลายกนกสามตัว)
ภาพที่ 2 ภาพลายกนก (2)
(แสดงโครงสร้างขั้นตอนของการวาดเส้นลายกนกในโครงสี่เหลี่ยอผืนผ้าแนวตั้ง 2 ต่อ 4)
ภาพที่ 3 ภาพลายกนก (3)
(แสดงโครงสร้างการวาดเส้นลายกนก และเพิ่มเติมรายละเอียดของลาย)
ศัพท์ตัวเดิมแปลว่าทองคำ ถือว่าเป็น แม่ลายของการเขียนลายไทย แบ่งได้เป็น 3 ตัว ในโครงสี่เหลี่ยอผืนผ้าแนวตั้ง 2 ต่อ 4 หรือสามเหลี่ยมปลายแหลม เรามักจะเรียกลายแม่แบบนี้ว่า ลายกนกสามตัว และในลายกนกสามตัวนี้ก็ยังมีหลายรูปแบบอีกได้แก่ กนกเปลว ลักษณะของ ตัวลายอ่อนไหวแบบเปลวไฟ กนกผักกูดตัวลายเป็นขดม้วนตัว กนกก้านกดตัวก้านลายเป็นขดม้วนตัว เป็นต้น โครงสร้างการวาดเส้นลายกนกสามตัว
2. ลายกระจัง
ภาพที่ 4 ภาพลายกระจัง
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลาย และรูปแบบต่าง ๆ)โครงสร้างของลายอยู่ในสามเหลี่ยมด้านเท่า มีลักษณะคล้ายกลีบของดอกบัวหรือตาอ้อย ด้านข้างจะแยกปลายแหลมเหมือนถูกบาก ลายนี้จะใช้ประดับตามขอบ เช่น ขอบของธรรมสาสน์ หรือขอบบนของลายหน้ากระดาน ลายกระจังจะมีอยู่หลายรูปแบบเช่น กระจังรวน กระจังปฏิญาณ กระจังใบเทศ กระจังหลังสิงห์ กระจังหู เป็นต้น
3. ลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
ภาพที่ 5 ภาพลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ และรูปแบบต่าง ๆ)4. ลายประจำยาม
ภาพที่ 6 ภาพลายประจำยาม
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลาย และรูปแบบต่าง ๆ)โครงสร้างของลายจะอยู่ในสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะคล้ายดอกไม้สี่กลีบ มีการใช้ประดับตกแต่งมาตั้งแต่สมัยทราวดี การนำมาใช้วาดเส้นเป็นทั้งจัดเรียงต่อเนื่องกัน หรือเป็นลายดอกลอย ก็ได้ หรือวาดเส้นลายประจำยาม ในลักษณะดอกเด่นในกลุ่มลายประกอบ
5. ลายกาบ
ภาพที่ 7 ภาพลายกาบ (1)
(แสดงเส้นลายกาบที่มีลักษณะโครงสูงใช้ตกแต่งมุมฐานเสาในรูปแบบต่าง ๆ)
ภาพที่ 5.8 ภาพลายกาบที่ใช้ตกแต่งมุมฐานเสา
(สำนักราชเลขาธิการ, 2531, หน้า 429)เป็นลายทรงสูงมีความสวยที่สง่างาม ใช้ตกแต่งหรือห่อหุ้มตกแต่งตามโคนเสา หรือ มุมเหลี่ยมต่าง ๆ ในงานทางสถาปัตยกรรม มีลักษณะคล้ายกับอ้อย ไผ่ ในการนำมาใช้จะเป็น ตัวแตกช่อลายออกไป รูปแบบในการเขียนลายกาบ
6. ลายนกคาบและนาคขบ
ภาพที่ 5.9 ภาพลายนกคาบ
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นและขั้นตอนการเขียนลายนกคาบ และรูปแบบต่าง ๆ)มีลักษณะเป็นหน้าของนกหน้านาคที่เอาปากคาบลายตัวอื่นเอาไว้หรือมีลายช่ออื่น ๆ ออกทางปาก ตำแหน่งของลายนกคาบจะอยู่ตรงข้อต่อที่จะเชื่อมก้านกันและกัน เช่น ลายตู้พระธรรมวัดเชิงหวาย รูปแบบของลายนกคาบ และนาคขบ
ภาพที่ 5.10 ภาพลายนกคาบ และนาคขบ
(แสดงลายนกคาบ นาคขบ การแตกช่อลาย และรูปแบบต่าง ๆ)นอกจากส่วนต่าง ๆ ของส่วนลายที่สำคัญในการวาดเส้นลายไทยก็ยังประกอบด้วยลายช่อ ลายหน้ากระดาน ลายก้านต่อ ลายเถา ฯลฯ ซึ่งเกิดจากมีความเชี่ยวชาญในการวาดลายย่อยแล้วมาผูกรวมกันได้อย่างสวยงาม และนำไปประดับในส่วนต่าง ๆ ทั้งงานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม และตกแต่งเฉพาะงาน
ในการวาดเส้นลายไทย การผูกลาย หรือการเอาลายไทยในหลายส่วนมาวาดรวมกันเป็นแนวทางที่ทำกันมาตลอด ดังนั้นผู้วาดเส้นในการผูกลายจะต้องรอบรู้ในการเขียนลายหรือเรียกว่า ช่อลายต่าง ๆ อย่างเชี่ยวชาญจึงจะได้ภาพลายไทยได้จังหวะที่สวยงามตามกรอบของภาพที่กำหนด
ภาพที่ 5.11 ภาพช่อลายลายไทยที่มีลายนกคาบ นาคขบ ที่กลมกลืนในการจัดภาพ
ที่มา (น.ณ ปากน้ำ, 2515 หน้า 10)
จิตรกรรมไทยลักษณะ และรูปแบบของจิตรกรรมไทยในอดีตที่ผ่านมานิยมเขียนตามผนังภายใน พระอุโบสถ พระวิหาร พระระเบียง เรื่องราวที่เขียนก็จะเกี่ยวกับ พุทธประวัติ ชาดก รามเกียรติ์ การเขียนจิตรกรรมฝาผนังของไทยจะมีรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์ไม่เหมือนชาติใด ๆ ซึ่งมีรูปแบบ ในลักษณะที่แบนราบ ไม่มีรูปแบบของการถ่ายทอดในลักษณะของ ภาพ PERSPECTIVE
ภาพที่ 5.12 ภาพพุทธประวัติ ตอน เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ
ที่มา (ทอม เชื้อวิวัฒน์, ม.ป.ป., หน้า 11 )
ภาพที่ 5.13 ภาพพุทธประวัติ ตอน เจ้าชายสิทธัตถะปลงพระเกศา
ที่มา (ทอม เชื้อวิวัฒน์, ม.ป.ป., หน้า 21)
ภาพที่ 5.14 ภาพฝาผนังรามเกียรติ์ ตอน พระรามประธานกรุงแก่หนุมาน
ที่มา (สำนักงานกินแบ่งรัฐบาล, 2538, หน้า 122)
ภาพที่ 5.15 ภาพฝาผนังรามเกียรติ์ ตอน หนุมานทอดกายให้กองทัพพระรามข้ามจากกรุงลงกา
ที่มา (สำนักงานกินแบ่งรัฐบาล, 2538, หน้า 154)
ในความหมายของการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังนอกเหนือจากเพื่อแสดงถึงศิลปะสวยงามแล้วยังเป็นเครื่องชักจูงให้ผู้ชมเกิดความเลื่อมใส ศรัทธา ให้มีผลในการประกอบคุณงามความดีอีกด้วยในการถ่ายทอดลักษณะของรูปคน สัตว์ จะมีความเป็นเอกลักษณ์ของเส้นทั้ง รูปแบบ และ ท่าทาง ให้ความงดงามอ่อนช้อย ซึ่งมีรูปลักษณ์ ลีลา ทำนองเดียวกับลายไทยเช่นกัน
ภาพที่ 5.16 ภาพจิตรกรรมรดน้ำหอเขียน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ที่มา (น.ณ ปากน้ำ, 2515 หน้า 18)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังจะใช้สีฝุ่นผสมกับยางไม้ เช่น ยางจากไม้มะขวิด ส่วนพู่กันจะใช้ ขนสัตว์ หรือทำจากเปลือกไม้ โดยการทุบให้ปลายแตกเป็นฝอยได้แก่ ไม้กระดังงา สีที่ใช้ ได้แก่ ดินแดง ดินเหลือง ปูนขาว เขม่าดำ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ ลักษณะการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยโบราณ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ
1. แบบสีฝุ่น หรือที่เรียกว่า TEMPERA จะใช้สีฝุ่นเขียนบนผนังที่แห้งสนิท และไม่มีความเค็ม
2. แบบปูนเปียก หรือที่เรียกว่า FRESSCO เป็นการเขียนบนผนังปูนที่ยังไม่แห้ง วิธีนี้จะให้ภาพคงทน ซึ่งวิธีการเขียนแบบนี้คนไทยได้ความรู้มาจากชาวจีน
โครงสร้างและขั้นตอนการวาดภาพคนในรูปแบบภาพจิตรกรรมไทย
ภาพที่ 5.17 ภาพเส้นหน้า (1)
(แสดงโครงสร้างขั้นต้นในการวาดเส้นหน้า ตัวนาง)
ภาพที่ 5.18 ภาพเส้นหน้า (2)
(แสดงโครงสร้างในการวาดเส้นหน้า ตัวนางด้านข้าง)
ภาพที่ 5.19 ภาพเส้นหน้า (3)
(แสดงโครงสร้างในการวาดเส้นด้านหน้าตัวพระ)
ภาพที่ 5.20 ภาพวิถีชีวิตไทย
(แสดงวาดเส้นถ่ายทอดวิถีชีวิตไทยในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย)
ภาพที่ 5.21 ภาพลักษณะเส้นอ่อนช้อย
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.22 ภาพน้ำและคลื่น
(แสดงโครงสร้างของน้ำ และลักษณะของคลื่น)
ภาพที่ 5.23 ภาพวิถีชีวิต
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ถ่ายทอดวิถีชีวิต)
คุณค่าของภาพจิตรกรรมไทยมีหลายแง่มุมขึ้นอยู่กับการศึกษา เช่น รูปแบบทางศิลปะ สวยงาม ทางด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ทางด้านการก่อสร้างบ้านเรือนทรงไทย ทางด้านจารีตประเพณีของคนไทยสมัยโบราณ เป็นต้น
ภาพที่ 5.24 ภาพเส้นอ่อนช้อย (1)
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.25 ภาพเส้นอ่อนช้อย (2)
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.26 ภาพเส้นอ่อนช้อย (3)
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.27 ภาพเส้นอ่อนช้อย (4)
(แสดงวาดเส้นในรูปแบบเชิงประยุกต์จากจิตรกรรมไทย ลักษณะเส้นอ่อนช้อยให้ความรู้สึกที่ดี)
ภาพที่ 5.28 ภาพจิตรกรรมไทย พระรถเสน
ที่มา (จักรพันธุ์ โปษยกฤต, ม.ป.ป., หน้า 12)
ภาพที่ 5.29 ภาพจิตรกรรมไทย พระรามตามกวาง
ที่มา (จักรพันธุ์ โปษยกฤต, ม.ป.ป., หน้า 32)
ภาพที่ 5.30 ภาพจิตรกรรมไทย นางมณีเมขลากับรามสูร
ที่มา (จักรพันธุ์ โปษยกฤต, ม.ป.ป., หน้า 61)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น